handsome-man-wearing-sunglasses-looking-rearview-mirror-car

ไฟตอนกลางคืน กับ แว่นกันแดด

การมองความสว่างของแสงไฟในตอนกลางคืนไม่ว่าในระยะใกล้หรือไกลพอสมควร สังเกตได้ว่ามองได้อย่างไม่ชัดเจนมากนัก เพราะว่าความสว่างของแสงไฟมีผลต่อสายตาของมนุษย์ แต่ถ้าหากมองสิ่งอื่นที่ต้องอาศัยความสว่างจากแสงไฟในการมองก็จะไม่ส่งผลต่อ การมองเห็นของมนุษย์มากนัก ท่านผู้อ่านทราบกันดีอยู่แล้วว่าความสว่างจากดวงอาทิตย์นั้น มีประโยชน์มากมายเหลือหลาย แต่มีโทษเช่นกัน ในทางกลับกัน หากเรามองดวงอาทิตย์ด้วยตาแทบจะมองด้วยตาเปล่า

  ไม่ได้เลย ต้องอาศัยแว่นกันแดดเป็นอย่างน้อย หรือ มากหน่อยก็หน้ากากที่ใช้เชื่อมเรา (จะกรองแสงดวงอาทิตย์ได้มาก) ทำให้มองอย่างไม่มีปัญหา ที่เกริ่นนำอย่างนี้ก็เพราะว่า จะสัมพันธ์กับเนื้อหาในบทความ ซึ่งผู้อ่านสามารถทดลองนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

       สำหรับผู้ที่มีใจรักหรือชื่นชอบการท่องเที่ยวยามราตรี มีวิธีการที่แนะนำ (ผู้อ่านอย่าเพิ่งคิดมากนะครับ) บทความเรามิได้หมายความว่าอย่างนั้น ท่านผู้อ่านเคยสังเกตไหมครับว่า ความสว่างของแสงไฟตามทาง ตามสถานบันเทิง หรือ แสงสว่างในการแสดงต่างๆนั้น เวลามองด้วยตาเปล่า พบว่า สายตาจะพล่ามัว มองไม่ชัดเจน เหมือนกลางวัน บางครั้งยังทำให้หน้ามืดอีกต่างหาก หากท่านเป็นผู้ขับขี่รถยนต์ วิธีการที่แนะนำจะไม่เหมาะสมแก่ท่านผู้ขับขี่และห้ามนำไปใช้อย่างเด็ดขาด จะมีอันตรายอย่างสูงมาก แต่ถ้าเป็นผู้โดยสารสามารถกระทำได้ แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องพกอุปกรณ์ดังกล่าวไปด้วย และอุปกรณ์นั้นก็คือ “แว่นกันแดด”

         ขึ้นชื่อว่าแว่นกันแดด จะมีมากมายหลายสี ไม่ว่าจะเป็นสีใดก็สามารถใช้งานได้ไม่แตกต่างกัน สิ่งที่แตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับความเข้มของเลนส์ว่ามีมากน้อยแค่ไหน อย่างไรแล้วให้ทำการทดสอบแว่นกันแดดนั้นก่อนที่จะนำไปใช้ในยามค่ำคืน โดยการทดสอบกับไฟในบ้านของท่านหรือไม่ก็ไฟใหญ่หน้ารถของท่าน ว่าเพียงพอกับความต้องการของท่านหรือไม่ เมื่อได้ตามที่ต้องการแล้ว ก็เริ่มท่องเที่ยวกันได้เลย โดยการใส่แว่นกันแดด

         วิธีการนี้ ไม่ว่าท่านผู้อ่านจะเดินชมความงามของแสงไฟจากการแสดง หรือ ท่านที่โดยสารรถยนต์ก็ตาม จะพบว่ามองได้อย่างชัดเจนมากขึ้น สามารถมองได้อย่างเพลินตา หลังจากจากการมองเสร็จสิ้นแล้วให้เก็บแว่น แต่พอต้องการใช้ก็ให้หยิบออกมาใหม่ มิฉะนั้นอาจจะมีผู้ไม่หวังดี คิดไม่ดีกับท่าน (_ มั่ _ไส้) วิธีการดังกล่าวน้อยท่านที่จะนำไปใช้ หากมีงานนิทรรศการเกี่ยวกับความสว่างของแสงไฟ ท่านลองนำไปใช้ดู แล้วท่านจะเห็นความแตกต่างด้วยตัวท่านเอง

หมายเหตุ 

 –    ผู้ขับขี่ห้ามกระทำโดยเด็ดขาด หากพราดพลั้งมาจะไม่คุ้มกัน (มองในสิ่งที่มิใช่ไฟไม่ชัดเจน)
  –    ผู้โยสารไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ก็สามารถนำไปใช้ได้ แล้วแต่ความถนัด

เครดิต http://www.phithan-toyota.com/th/article_detail.php?article_id=566&category_id=5

hand-pulling-handbrake

ปัญหายอดฮิตของระบบเบรก

 เบรกตื้อ เป็นอาการที่เวลาเหยียบเบรก แล้วรู้สึกว่า เบรกมันไม่ค่อยอยู่ เบรกแข็งๆ ต้องออกแรงเหยียบเบรกมากๆ อาการเบรกตื้อ เกิดมาจากหลายสาเหตุ เช่น แรงดูดสุญญากาศของหม้อลมน้อย เพราะปั้มตูดไดชาร์จเสีย หรือผ้าในหม้อลมรั่ว วาล์ว PVC หรือ Combo Vale เสีย สายลมรั่ว


เบรกต่ำ เวลาเหยียบเบรกแล้วรู้สึกว่า แป้นเบรกจมลงต่ำกว่าปรกติ เหยียบค้างไว้เบรกค่อยๆจมลงๆ เป็น  อาการของเบรกต่ำ ส่วนมากเกิดมาจาก ลูกยางแม่ปั้มเบรกบน มีอาการสึกหรอ หรือบวม ทำให้แรงดันเบรกลดลง ต้องออกแรงเบรกมากขึ้น หรือต้องเหยียบเบรกซ้ำๆกัน หลายๆครั้ง
เบรกติด อาการเหมือนรถมีอาการเบรกทำงานอยู่ตลอดเวลา รถจะตื้อ เบรกร้อนมีกลิ่นเหม็นไหม้ เบรกปัดซ้าย-ขวา รถวิ่งไม่ออก จอดแล้วเข็นรถไม่ได้ เป็นอาการของเบรกติด ส่วนมากเกิดจาก การลูกยางกันฝุ่นของแม่ปั้มเบรกเสีย ทำให้มีน้ำซึมเข้าไปในกระบอกเบรก จนเกิดสนิมติดขัด ลูกสูบเบรกไม่สามารถเคลื่อนตัวเข้าออกได้


การแก้ไข เปลี่ยนชุดซ่อมแม่ปั้มเบรกล่าง ถอดมาขัดสนิมออก ทั้งแม่ปั้ม และกระบอกเบรก หรือถ้ามีสนิมมากจนเกิดตามด จะทำให้น้ำมันเบรกรั่วซึมได้ ต้องเปลี่ยนลูกสูบเบรก หรือแม่ปั้มทั้งชุด

เบรกแตก คืออาการ เหยียบเบรกแล้ว แป้นเบรกที่ขาเบรกจม จนแป้นเบรกกระทบกับพื้นรถ หรือนิ่มหยุ่นๆก่อนแล้วจมลงติดพื้น เมื่อเหยียบเบรกแล้วรถยังคงวิ่งที่ความเร็วเท่าเดิม เหมือนไม่มีเบรก
สาเหตุ
1. เกิดจากรั่วของน้ำมันเบรก เช่นสายอ่อนเบรกแตก ท่อแป๊ปเบรกแตก หรือน้ำมันเบรกรั่วซึมมาเป็นเวลานาน ลูกยางแม่ปั้มเบรก และแม่ปั้มเบรกเก่า เสียหายจนน้ำมันเบรกรั่วไหลออกจนหมด
2. ผ้าเบรกหมด จนหลุดออก เป็นไปได้บ่อยครั้งที่ เวลาที่ผ้าเบรกหมดนานๆ และยังปล่อยไว้ไม่ได้รับการเปลี่ยน ผ้าเบรกจะบางมากจนหลุดออกจากฝักก้ามปูเบรก จะทำให้ลูกสูบเบรกหลุด เบรกจะแตกทันที
3. ส่วนประกอบในระบบเกิดการหลุดหลวม เกิดได้หลายสาเหตุ เช่นสากแป้นเบรก (ที่ตั้งได้ไขไม่แน่นหลุดเกลียว หรือไม่ได้ใส่สลักล็อค) น็อตยึดขาเบรกหลุด ฝักเบรก หรือคาริบเปอร์เบรกยึดไม่แน่น และส่วนประกอบต่างๆในระบบเบรกประกอบไม่แน่นหลุดออก
4. สายอ่อนเบรกแตก สายอ่อนที่เก่ามากๆ จะเกิดอาการบวม เวลาปกติก็ดูดี แต่พอเหยียบเบรกกลับ พองตัวเหมือนลูกโป่ง พวกนี้อันตรายมาก เวลาเหยียบเบรกเบาๆแรงดันน้ำมันเบรกต่ำก็รู้สึกดี แต่พอเวลาคับขัน เหยียบเบรกกะทันหันอย่างแรง สายอ่อนเบรกก็เกิดการรับแรงดันไม่ไหวแตกออก และการติดตั้งสายอ่อนเบรกไม่ดี เสียดสีกับล้อ และยาง หรือเสียดสีกับระบบช่วงล่างของรถ

เบรกหมด คืออาการ เบรกแล้วเกิดเสียงดัง เหมือนเหล็กสีกับเหล็ก เบรกลื่นๆ
เป็นอาการของเวลาที่ผ้าเบรกหมด ผ้าเบรกบางรุ่นจะมีส่วนที่เป็นตุ่มโลหะมาแตะกับจานเบ รกเพื่อให้เกิดเสียงดัง เป็นอาการส่งสัญญาณเตือน หรือติดตั้ง สวิทซ์ไฟโชว์ไว้ที่แผงหน้าปัด ต้องรีบเปลี่ยนโดยทันที เพราะจะทำให้ผ้าเบรกสีกับจนเบรกเสียหาย จนต้อเปลี่ยนจานเบรกใหม่ เสียเงินเพิ่มอีก
เบรกสั่น คืออาการที่เหยียบแล้ว แป้นเบรกเกิดอากาสั่นขึ้นๆลงๆ รู้สึกได้ด้วยเท้า รถที่เบรกสั่นมากๆจะรู้สึกสั่นถึงพวงมาลัย หรือเวลาเหยียบเบรก เกิดอาการสั่นสะท้านไปทั้งคัน
สาเหตุเกิดจาก จานเบรกเกิดการคดบิดตัว เพราะการใช้งานที่รุนแรงกินไป การลุยน้ำ (จานเบรกที่ร้อนจัด เวลาเจอน้ำมักจะบิดตัวได้ง่าย) ลูกปืนล้อหลวม น็อตล้อหลวม ผ้าเบรกสึกหรอไม่เท่ากัน อาการนี้เกิดได้ทั้งระบบดิสเบรก และดรัมเบรก


เบรกเสียงดัง อาการ มีเสียงดังที่เกิดขึ้นในขณะเบรก ส่วนมากเกิดมาจาก ผ้าเบรก และจานเบรก เช่นผ้าเบรกหมด จนเหล็กผ้าสีกับจาน จานเบรกเป็นรอยมากๆเนื่องจากฝุ่น และหินที่หลุดเข้าไปเสียดสี ต้องเจียรจานเบรกใหม่ แต่ถ้าผ้าเบรกก็ใหม่ จานเบรกก็เรียบดี เสียงที่ดังมักเกิดจาก เสียงของผ้าเบรกเอง ผ้าเบรกที่ผลิตไม่ได้มาตราฐาน อัดขึ้นรูปผิดพลาด จะเกิดรอยร้าว เป็นช่องว่างให้อากาศเข้าได้จะเกิดเสียงดัง แล้วอย่าหวังเลยครับว่าใช้ไปเรื่อยๆ แล้วเสียงจะหายเอง ถือว่าน้อยมาก การเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่ถือว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดค รับ

เบรกเฟด คืออาการเบรกลื่นๆ เบรกไม่อยู่ในขณะที่ใช้ความเร็วสูง หรือติดต่อกันหลายๆครั้ง หรือใช้เบรกแบบหักโหม อาการนี้เกิดขึ้นเช่น เวลาที่ขับรถมาด้วยความเร็วสูงมากๆ พอแตะเบรกครั้งแรกก็เบรกอยู่ดี พอแตะเบรกอีกหลายๆทีกลับเกินอาการลื่นเหมือนยังไม่เห ยียบเบรกเลย ถือว่าน่ากลัวมาก
สาเหตุเกิดจาก ความร้อนของจานเบรกที่สูงเกินไป จานเบรกที่ใช้งานหนักอาจจะเกิดความร้อนสูงกว่า 1,000 องศา จานเบรกอาจเกิดการไหม้แดง เหมือนเหล็กถูกเผาไฟ และเกิดการขยายตัวมาก การระบายความร้อนของจานเบรกไม่ดี ผ้าเบรกที่มีคุณสมบัติในการทนความร้อนต่ำ จะเกิดการลุกไหม้เสียหาย ไม่สามารถจับจานเบรกให้อยู่ได้ รวมถึงน้ำมันเบรกที่คุณสมบัติในการทนความร้อนต่ำ จะทำให้น้ำมันเบรกเดือด เกิดการขยายตัวเป็นฟองอากาศ ทำให้แรงดันไฮโดลิคลดต่ำลง
อาการเบรกเฟดนี้ ถือเป็นปัญหาของนักซิ่ง ที่ชอบใช้เบรกแบบรุนแรง เบรกบ่อยๆติดต่อกัน และ รถที่ขับด้วย ความเร็วสูง

     การดูแลรักษาระบบเบรก และข้อควรระวัง
การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรก แม้ว่าจะไม่มีการรั่วหรือลดระดับลงอย่างใดก็ตาม น้ำมันเบรกควรได้รับการเปลี่ยนถ่ายปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพราะน้ำมันเบรกมีส่วนประกอบมาจากน้ำมันแร่ จึงมีการรวมตัวกับไอน้ำได้ง่าย ทำให้ระบบเบรกเกิดสนิม ความร้อนที่สูงเกินไปทำให้เกิดฟองอากาศในท่อน้ำมัน ฝุ่นผงที่สึกหรอของลูกยางเบรกจะเสียดสี กับแม่ปั้มเบรก ทำให้กระบอกเบรกเสียหายเร็วขึ้น น้ำมันเบรกต้องเลือกใช้ให้ตรงกับมารตราฐานที่ผู้ผลิต กำหนด เช่น DOT3 จะไม่สามารถนำน้ำมันเบรก DOT อื่นผสม หรือนำน้ำมันอื่นๆเติมแทน เพราะจะทำให้ลูกยางเบรกบวมได้


การเช็คระยะห่างผ้าเบรก ในระบบดรั้มเบรก ระยะห่างระหว่างผ้า และจานเบรกที่มากขึ้น จะสังเกตได้จากการเหยียบเบรกจะต่ำลง และการดึงเบรกมือที่สูงขึ้น ระดับน้ำมันเบรกลดต่ำลง ควรต้องทำการถอดจานเบรกมาทำความสะอาด เป่าฝุ่นทิ้ง และตั้งระยะผ้าเบรกให้ชิดขึ้น การตั้งจะใช้ไขควงเขี่ยเฟืองตั้งให้หมุนตามฟันตั้ง ด้านหลังจานเบรก ใส่ล้อไขให้แน่นแล้วหมุนสังเกตถ้าล้อเริ่มหมุนฝืดขึ้ น ถือว่าใช้ได้ ทำทั้ง 2 ล้อ หรือสังเกตจากเสียงแกรกๆ เวลาดึงเบรกมือควรจะอยู่ที่ 5 – 7 แกรก

       การตรวจสอบผ้าเบรก ผ้าเบรกเป็นส่วนที่สึกหรอเร็วกว่าส่วนอื่น เพราะมีการเสียสีทั้งจานเบรก และฝุ่นต่างๆ ควรถอดเช็คเป็นประจำ สังเกตเปรียบเทียบกับผ้าเบรกของใหม่แกะกล่อง จะมีความหนาเป็น 100 % ผ้าเบรกที่ใช้แล้วความหนาจะลดลงเรื่อยๆ ในจุดที่ต่ำกว่า 40 – 30 % นั้นถือว่าไม่ปลอดภัย เพราะผ้าเบรกในช่วงที่เหลือน้อย การสึกหรอจะรวดเร็วกว่าหลายเท่าตัว จนถึงระดับบางมาก เนื้อผ้าเบรกอาจหลุดร่อนได้อย่างกะทันหัน เป็นผลให้แผ่นเหล็กสีกับจานเบรกจนเสียหาย เสียเงินเพิ่ม หรือถ้าผ้าเบรกหลุดออกจากฝักเบรก ลูกสูบปั้มเบรก และน้ำมันเบรกจะหลุดออก ที่เรียกกันว่าเบรกแตกนั้นเอง


การเปลี่ยนจานเบรก และการเจียรจานเบรก การใช้ผ้าเบรกที่มีโลหะผสมอยู่มาก ฝุ่น หิน และการปล่อยให้ผ้าเบรกหมด จะทำให้จานเบรกเป็นรอย การขับรถลุยน้ำขณะที่จานเบรกร้อน จะทำให้จานเบรกคด หรือบิดตัว ต้องทำการเจียรจาน ด้วยเครื่องมือเจียรจานเบรก ทำได้ 2 วิธี การถอดจานเบรกมาเจียรด้วยเครื่องเจียรจาน แบบนี้ต้องใช้ค่าแรงสูงและอาจต้องมีการเปลี่ยนจารบีล ูกปืนล้อใหม่ เสี่ยงต่อเศษฝุ่นผงเหล็กปะปนกับการประกอบจานเบรกคืน และการใช้เครื่องเจียรจานแบบประชิดล้อ แบบนี้ไม่ต้องเสียเวลาถอดจานเบรก และลูกปืนล้อ แต่ความเที่ยงตรงไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพดุมล้อ และลูกปืนล้อ ว่าหลวมหรือคดหรือไม่ การเจียรจะทำให้จานเบรกบางลง จานเบรกที่บางจะทำให้เกิดการแตกร้าว และคดได้ง่าย ควรเปลี่ยนจานเบรกใหม่ถือเป็นการดีที่สุด

การทำความสะอาดจานเบรก ถ้ามีจารบี หรือสิ่งแปดเปื้อน ติดอยู่ที่จานเบรก ควรใช้น้ำยาล้างจานเบรกโดยเฉพาะ ไม่ควรใช้น้ำมันอื่นๆมาทำความสะอาด หรือถ้าไมมีจริงๆ ควรใช้ทินเนอร์ 100% หรือ แอลกอลฮอลบริสุทธิเท่านั้น

การตรวจสอบสายอ่อนเบรก ควรตรวจสอบเป็นประจำสม่ำเสมอ ถ้าเห็นว่ามีอาการบวม บิดคดเสียรูป ปลอกหุ้มภายนอกฉีกขาด หรือมีการเสียดสี ควรรีบเปลี่ยนทันที เพราะอาจจะเกิดการแตกได้ง่ายๆ
การล้างและเปลี่ยนชุดซ่อมเบรก เบรกที่ได้รับการใช้งานอยู่เป็นประจำ ควรได้รับการเปลี่ยนชุดซ่อม จำพวกลูกยางแม่ปั้มเบรก ลูกยางลูกสูบเบรก และยางกันฝุ่น อย่างน้อย 2 – 4 ปีครั้ง หรือถ้ามีมีการลุยน้ำ ต้องรีบตรวจเช็คทันที เพระลูกยางกันฝุ่นที่เก่าหมดสภาพ จะไม่สามารถกันน้ำและฝุ่นได้ น้ำที่ซึมผ่านเข้าไปในกระบอกเบรก และแม่ปั้มเบรก จะทำลายลูกสูบเบรกให้เกิดสนิม เป็นตามด ในกระบอกเบรก ทำให้เกิดอาการเบรกติด หรือน้ำมันเบรกรั่วซึม

เครดิต http://www.hondaloverclub.com/forums/showthread.php?t=14988

Computer cooling system template with realistic ventilators with and without grid on gray background vector illustration

วิธีดูแลรักษาพัดลมหม้อน้ำ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

วิธีดูแลรักษาพัดลมหม้อน้ำ

           อุปกรณ์ในระบบหล่อเย็นที่สำคัญและจะขาดเสียไม่ได้อีก อย่างหนึ่งก็คือ พัดลมหม้อน้ำ เพราะช่วยในการถ่ายเทความร้อนระหว่างรังผึ้งหม้อน้ำก ับอากาศให้สมดุลกับปริมาณความร้อนที่เกิดขึ้น ปัจจุบันพัดลมหม้อน้ำในรถยนต์ส่วนใหญ่จะเป็นชนิดที่ข ับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า เพราะการควบคุมการทำงานได้ง่ายกว่าชนิดขับด้วยสายพาน แต่มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถทำให้มีขนาดใหญ่มาก ๆ ได้เนื่องจากกระแสไฟฟ้าในรถมีน้อย รถที่ต้องการอัตราการไหลของอากาศมาก ๆ เนื่องจากอุณหภูมิการทำงานของเครื่องยนต์สูง เช่น รถที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลจึงยังจำเป็นต้องใช้พัดลมชน ิดที่ขับด้วยสายพานโดยใช้กำลังจากเครื่องยนต์อยู่

            โดยปกติพัดลมหม้อน้ำจะไม่ต้องการการบำรุงรักษาใด ๆ เพราะหากชำรุดขึ้นก็เปลี่ยนใหม่ แต่อย่างไรก็ดีควรหมั่นตรวจดูสภาพและการทำงานเป็นระย ะ ๆ โดยการตรวจสภาพและการทำงานของพัดลมหม้อน้ำ ซึ่งควรทำทุกครั้งที่ตรวจระดับน้ำหล่อเย็น ต่อจากนั้นตรวจดูใบของพัดลมว่าไม่แตกหักเสียหายหรือเ ปลี่ยนรูปไป ตรวจดูโครงยึดและกรอบบังลมว่าตรึงแน่นอยู่ในตำแหน่งอ ย่างถูกต้องและไม่มีร่องรอยของการเสียดสี สายไฟและปลั๊กต่อว่าอยู่ในสภาพเรียบร้อยไม่ขาด แตกหัก หรือหลุดลุ่ย ตรวจการทำงานของพัดลมหม้อน้ำและวงจรควบคุม โดยสตาร์ตเครื่องยนต์แล้วสังเกตการทำงานของพัดลมหม้อ น้ำในสภาวะปกติ ระหว่างที่ติดเครื่องยนต์ใหม่ ๆ พัดลมหม้อน้ำจะยังไม่ทำงาน พัดลมจะเริ่มหมุนเมื่ออุณหภูมิของเครื่องยนต์เริ่มสู งกว่าอุณหภูมิทำงานปกติ (ประมาณ 85-90 องศาเซลเซียส) และจะหยุดหมุนเมื่ออุณหภูมิของเครื่องยนต์ลดต่ำลงกว่ าระดับดังกล่าว สลับไปมาอย่างนี้ตลอดไป

ดังนั้นถ้าพบว่า พัดลมหม้อน้ำทำงานอยู่ตลอดเวลา แสดงว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น 

              ซึ่งอาจจะเป็นในระบบหล่อเย็น หรืออุปกรณ์ควบคุมการทำงานของพัดลม ลองใช้น้ำฉีดที่หม้อน้ำ (อย่าฉีดไปที่ตัวมอเตอร์โดยตรงเพราะจะทำให้เกิดไฟฟ้า ลัดวงจร หรือชิ้นส่วนภายในเสียหาย) ถ้าฉีดแล้วพัดลมหยุดทำงานก็แสดงว่าการระบายความร้อนข องหม้อน้ำไม่มีประสิทธิภาพ เช่น ปริมาณของสารหล่อเย็นมีไม่พอเพียง เกิดการอุดตันที่ครีมระบายความร้อน มีตะกรันหรือสนิมในหม้อน้ำอุปกรณ์ในระบบหล่อเย็น (ปั๊มน้ำเทอร์โมสตัท) บกพร่อง แต่ถ้าฉีดน้ำจนแน่ใจว่าอุณหภูมิของเครื่องยนต์ลดลงจน ต่ำกว่าอุณหภูมิทำงานแล้ว พัดลมก็ยังไม่หยุดทำงานแสดงว่าอุปกรณ์ควบคุมการทำงาน ของพัดลม (เทอร์โมสวิตช์) บกพร่อง

อาการบกพร่องประการสุดท้าย คือ พัดลมไม่หมุน ลองตรวจดูฟิวส์เสียก่อนเป็นอันดับแรก (ตำแหน่งของฟิวส์ได้จากคู่มือผู้ใช้รถของแต่ละรุ่น) ถัดจากนั้นก็เป็นสายไฟและขั้วเสียบ ถ้าไม่มีอะไรผิดปกติ แสดงว่าตัวพัดลมหรือไม่ก็วงจรควบคุมบกพร่อง สำหรับการแก้ไขในกรณีนี้คงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ขอ งช่างที่มีความชำนาญเป็นดีที่สุด ไม่แนะนำให้แก้ไขเองครับ ประเดี๋ยวจะได้ไม่คุ้มเสีย เพราะวงจรควบคุมพัดลมหม้อน้ำในระบางรุ่นเชื่อมต่ออยู ่กับกล่องคอมพิวเตอร์ ควบคุมการทำงานของเครื่องยนต์ เคราะห์หามยามร้ายเกิดไปทำกล่องที่ว่านั่นเสียจะกลาย เป็นเรื่องใหญ่

การดูแลรักษาระบบหล่อเย็นโดยสังเขปคงมีเท่านี้ ขอให้ใช้รถในหน้าร้อนได้อย่างสบายอกสบายใจและสนุกสนา นทุกท่านครับ 

เครดิต http://www.hondaloverclub.com/forums/showthread.php?t=12226

ขอบคุณภาพ suzukicarparts.com

Professional cleaning and car wash in the car showroom.

การบำรุงรักษารถยนต์ตามระยะทางที่กำหนด มีแต่สิ่งที่ดี

การบำรุงรักษารถยนต์ตามระยะทางถือเป็นเรื่องจำเป็น โดยทางผู้ผลิตรถยนต์ได้กำหนดไว้ 2 ลักษณะด้วยกัน คือ

 1.   ระยะเวลา (นับตั้งแต่วันที่ออกรถ)
 2.   ระยะทาง (ที่วิ่งใช้งานไปแล้ว)

 หากมีการใช้รถน้อย ก็ให้คำนวณจากระยะเวลา แต่ถ้าใช้รถยนต์เป็นปกติถึงมาก ก็ให้คิดจากระยะทางปัจจุบัน (บนมาตรวัด) หรือ แล้วแต่ระยะใดถึงก่อนก็ได้ครับ การนำรถเข้าตรวจเช็คตามระยะทางที่กำหนด จะเกิดประโยชน์อย่างมากแก่ผู้ใช้รถ

 

 1.   ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง
 เพราะ การบำรุงรักษารถยนต์อยู่เสมอ หรือ เครื่องยนต์อยู่เสมอ ทำให้ชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ที่เกี่ยวข้องกับระบบเชื้อเพลิง หรือ อัตราการสิ้นเปลืองนั้นมีประสิทธิภาพการทำงานที่สมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นของระบบเชื้อเพลิงเอง หรือ ตัวเครื่องยนต์ก็แล้วแต่ การที่จะสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงน้อยหรือมากนั้น ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบหลายอย่าง ส่วนประกอบบางอย่างจำเป็นต้องเปลี่ยนทุกๆระยะ หากมีการตรวจพบก็ควรรีบทำการเปลี่ยน หรือ มีการทำงานที่ผิดปกติจากชิ้นส่วนนี้ก็ต้องเปลี่ยนเช่นกัน ถ้าสิ่งนั้นเกี่ยวข้องกับการสิ้นเปลืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น อย่างน้อยที่สุดหลังจากที่ได้ตรวจเช็ค 1,000 กิโลเมตรแรกไปแล้ว ควรนำรถเข้าตรวจเช็คทุก 10,000 กิโลเมตร ครับ

 รายการต่างๆที่กระทำทุกระยะทางนั้น จะเกิดผลดีอย่างมากต่อเจ้าของรถยนต์และตัวรถยนต์ด้วย ดังนั้นเพื่อความเข้าใจมากขึ้น ขอเสนอตัวอย่างบางรายการในรูปแบบของตาราง ดังนี้

 2.   ยืดอายุการใช้งานของรถยนต์
 เพราะ คำว่ายืดอายุการใช้งานของรถยนต์ มิใช่คำว่า ยืดอายุการใช้งานของชิ้นส่วนนะครับ หมายถึง รถยนต์ทั้งคัน นั่นก็หมายความว่า สัมพันธ์กันทุกชิ้นส่วนนั่นเอง หากไม่มีการบำรุงรักษาตามระยะทางที่กำหนด ชิ้นส่วนบางชิ้นส่วนเป็นสาเหตุที่ให้ท่านไม่สามารถใช้รถยนต์ได้ถึงแม้จะเป็น แค่จุดเล็กน้อยก็ตาม ตราบใดมีการบำรุงรักษาและเปลี่ยนชิ้นส่วนตามระยะเวลาที่กำหนด จะเป็นผลให้ประสิทธิภาพของการทำงานจากชิ้นส่วนเหล่านั้นทำงานได้อย่าง สมบูรณ์เหมือนเดิม เมื่อทุกชิ้นส่วนไม่มีปัญหา ย่อมส่งผลให้ตัว “รถยนต์” คงทนยิ่งขึ้นพร้อมกับใช้งานได้ยาวนานขึ้นครับ ดังนั้น เห็นสมควรว่าน่าจะนำรถเข้าเช็คยังศูนย์บริการทุกระยะทางที่กำหนดครับ

 

3.   ขับขี่ได้อย่างสบายใจไร้กังวล
เพราะ ตัดปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นขณะใช้รถยนต์ออกไปได้เลย เจ้าของรถทุกท่านต่างก็มีไว้เพื่อพร้อมใช้งานตลอดเวลา หากมีเหตุการณ์รีบด่วนที่จะต้องใช้รถยนต์ (ขอให้คำนึงถึงกันมากๆครับ)  แล้วใช้งานไม่ได้ จะทำอย่างไร? รถยนต์แต่ละคันมีชิ้นส่วนมากมายและหลายระบบมันเป็นการยากที่เจ้าของรถหรือ ผู้ดูแลรถจะเข้าใจถึงสิ่งต่างๆได้ ยิ่งปัจจุบันใช้เทคโนโลยีที่สูงมากที่บรรจุอยู่ในรถยนต์ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษบวกกับผู้ชำนาญงานถึงจะเข้าใจ ถึงระบบเหล่านั้น ดังนั้น ควรนำรถเข้าตรวจเช็คตามระยะเวลาที่กำหนด หากมีสิ่งใดที่ขัดข้องหรือชำรุด จะได้ทำการแก้ไขทันเวลา ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ตรวจพบสิ่งใดผิดปกติ ก็จะแจ้งให้เจ้าของรถยนต์ทราบ ส่วนการที่จะลงมือซ่อมหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับเจ้าของรถครับ ทางเจ้าหน้าที่ไม่สามารถกระทำโดยพละการได้ครับ

 

 4.   ปลอดภัย
เพราะ ความสมบูรณ์ของรถยนต์ นำมาซึ่งความปลอดภัยในการใช้รถยนต์นั่นเองครับ ระบบต่างๆที่มีความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นระบบเบรก (คงไม่มีใครขับรถยนต์โดยไม่ได้ใช้เบรกนะครับ) เป็นส่วนที่สำคัญมากระบบหนึ่ง หากไม่มีการบำรุงรักษาตามกำหนด อาจนำมาซึ่งอุบัติเหตุได้ ยกตัวอย่าง เช่น มีการตรวจพบว่า ผ้าเบรกใกล้หมด แล้วยังไม่ทำการเปลี่ยนใหม่ สังเกตไหมครับว่า 1. เบรกไม่ค่อยอยู่ 2. แรงที่ใช้ในการเบรกมากขึ้น, 3. ระยะทางที่ใช้ในการเบรกมากขึ้น จุดนี้เอง หากมีการเบรกกะทันหัน โอกาสเกิดอุบัติเหตุมีอย่างแน่นอน ขอยกตัวอย่างอีกกรณีหนึ่ง คือ หลังจากมีการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่พบว่า ยางล้อรถยนต์เสื่อมสภาพหรือถึงอายุกำหนดเปลี่ยนใหม่ แต่ท่านไม่เปลี่ยน หากมีการระเบิดของยางย่อมเสียการทรงตัว โอกาสเกิดอุบัติเหตุก็มีอีกเช่นกัน ขอให้ผู้อ่านคำนึงถึงความปลอดภัยด้วยครับ วิธีที่ขอแนะนำ เพียงแต่เจ้าของรถยนต์นำรถเข้าตรวจเช็คตามระยะทางที่กำหนดเท่านั้นแล้ว ท่านจะพบกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นกับรถยนต์ของท่าน ว่าสิ่งไหนควรรีบทำ อันไหนใกล้เสื่อมสภาพอะไรทำนองนี้ ดังนั้น นำรถเข้าตรวจเช็คยังศูนย์บริการตามระยะทางที่กำหนดเป็นดีที่สุดครับ

 

 5.   ไว้วางใจได้
เพราะ ในการตัดสินใจซื้อรถยนต์สักคันหนึ่ง แน่นอนจะต้องถูกใจผู้ใช้รถ เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องแล้ว รถยนต์แต่ละคันมีขั้นตอนการผลิตอย่างเข้มงวด หลังจากมีการจำหน่ายแล้วการบริการหลังการขายถือเป็นเรื่องสำคัญ เจ้าของรถควรนำรถเข้าตรวจเช็คตามกำหนดครับ การบริการจะต้องเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศหรือทั่วโลก ขั้นตอนการดำเนินการของศูนย์บริการมีการทำงานอย่างเป็นระบบ มีแบบแผน อะไหล่ภายในศูนย์บริการก็เป็นของแท้ทุกชิ้น รับรองโดย บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์เปอร์เรชั่น ประเทศญี่ปุ่น และของประเทศไทย เรื่องที่จะมีของเทียมหรือของปลอมหมดสิทธิ์ครับ ความสามารถในการแก้ไขปัญหารถยนต์ก็ตรงจุด ทำให้ผู้ขับขี่หรือเจ้าของรถใช้รถยนต์ได้อย่างสบายใจ ในเรื่อง ค่าแรง ค่าอะไหล่ ก็เป็นมาตรฐานเดียวกันครับ การรับประกันสามารถเข้าตรวจเช็คหรือเตลมได้ทั่วประเทศ ตามข้อกำหนดโดยมีมาตรฐานเดียวกันครับ หากมีการขัดข้องเกิดขึ้นกับรถยนต์ของท่านให้นำรถเข้าศูนย์บริการ แต่อย่าลืมนำบัตร Smart Card ไปด้วยเท่านั้นครับ ดังนั้น ควรนำรถเข้าตรวจเช็คตามระยะทางที่ศูนย์บริการกำหนดเป็นดีที่สุดครับ

 

 6.   ได้รับประกันตามเงื่อนไข
 เพราะ การนำรถเข้าตรวจเช็คยังศูนย์บริการตามกำหนดทุกระยะนั้น ท่านเจ้าของรถจะได้รับประโยชน์จากงานรับประกันอย่างเต็มที่ ถึงแม้ ศูนย์บริการนั้น มิได้เข้าตรวจเช็คหรือบริการเป็นประจำก็ตาม ทางบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด สามารถทำการตรวจสอบได้ทั้งหมดครับ การรับประกันจะครอบคลุมรถยนต์ที่ออกจากโรงงาน และอุปกรณ์ตกแต่งที่ติดตั้งเพิ่มเติมจากตัวแทนจำหน่ายอีกด้วย ข้อมูลของการรับประกัน ผู้อ่านศึกษาได้จากคู่มือที่มาพร้อมกับตัวรถยนต์ครับ ด้านคูปองฟรีค่าแรงในการเช็คระยะทาง 1,000 , 10,000 ,  20,000 , 30,000 , 40,000 และ 50,000 กิโลเมตร นั้น ข้อมูลอยู่ในบัตร Smart Card ครับ ดังนั้น เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ให้นำรถเข้าตรวจเช็คตามระยะที่กำหนดได้ที่ศูนย์บริการครับ

 

 7.   ถูกต้องตามกฎหมาย
 เพราะ การผลิตรถยนต์จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ ประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน รถยนต์แต่ละคันมีข้อกำหนดมากมาย เช่น การปล่อยมลพิษ, ระดับเสียงดัง, ความสูงของรถ , ระดับไฟหน้า เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใด รถยนต์ที่ออกมาจากโรงงานถือว่าเป็นมาตรฐานและถูกต้องตามกฎหมายครับ การดำเนินการของศูนย์บริการไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็จะมีมาตรฐาน ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายกำหนดเช่นเดียวกันครับ หากทุกคนเคารพในกฎหมาย สังคมจะมีความสุข ดังนั้น ควรนำรถเข้าตรวจเช็คที่ศูนย์บริการตามระยะที่กำหนดครับ

              ท้ายนี้ การนำรถเข้าตรวจเช็คตามระยะที่กำหนด ทางผู้ผลิตได้คำนวณมาเป็นอย่างดีแล้ว เพื่อให้รถยนต์ของท่านมีประสิทธิภาพที่ดีตลอดเวลา การใช้งานยาวนานคุ้มค่ากับเงินที่ต้องจ่ายไป ซึ่งปัจจุบันราคาน้ำมันเชื้อเพลิงมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น อะไรก็แล้วแต่ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ ที่ทำให้ประหยัดได้ ควรจะดำเนินการตามนั้น แล้วทุกๆท่านจะใช้รถยนต์ได้อย่างคุ้มค่าสูงสุดครับ

 

Cr. http://www.phithan-toyota.com/th/article_detail.php?article_id=576&category_id=3

3อาการต้องเปลี่ยนแบต

3 อาการบ่งบอกว่าคุณอาจจะต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่

เชื่อเลยว่าหนึ่งในปัญหากวนใจที่ไม่มีใครอยากให้เกิดกับรถมากที่สุดนั้นคือปัญหา แบตเตอรี่รถยนต์ ทำให้คุณต้องปวดหัวได้แบบไม่ทันตั้งตัว และปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้นเลยถ้าหากเราคอยใส่ใจดูแลรักษาและหมั่นสังเกตอาการรถคุณอยู่เป็นประจำ

 

แบตเตอรี่รถยนต์

   แบตเตอรี่ มีหน้าที่เก็บและจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องยนต์เพื่อให้ทำงานได้ เช่น มอเตอร์สตาร์ท ระบบจุดระเบิด ในขณะที่สตาร์ทรถยนต์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ป้อนพลังงานให้กับอุปกรณ์อำนวยความสะดวกหลายๆ อย่างด้วย เช่น ระบบไฟส่องสว่าง วิทยุ และแตร เป็นต้น

 

   ซึ่ง 3 อาการที่บ่งบอกว่าคุณอาจจะต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่นั้นมีดังนี้

 

สตาร์ทติดยาก

   เริ่มสตาร์ทติดยากกว่าปกติ หรือเมื่อจอดรถทิ้งไว้แล้วกลับมาสตาร์ทใหม่เครื่องจะติดยากโดยเฉพาะช่วงเช้า หรือ จอดทิ้งไว้นานหลายวัน เวลาสตาร์ทเครื่องยนต์เสียงมอเตอร์สตาร์ทจะหมุนช้าเหมือนไม่มีแรง หรือรุนแรงถึงขั้นสตาร์ทไม่ติด นั่นแสดงว่ามีประจุไฟไม่พอสำหรับสตาร์ทเครื่องยนต์ ซึ่งในกรณีนี้อย่าเพิ่งฟันธงว่าเป็นที่แบตเตอรี่นะครับ ให้ลองพ่วงชาร์จเพื่อทำการสตาร์ทดูก่อน ถ้าเครื่องติดแล้วลองขับใช้งานปกติ เมื่อดับเครื่องยนต์ไม่นานนักแล้วกลับมาสตาร์ทติด แสดงว่าไดชาร์จไม่มีปัญหา แต่ถ้ายิ่งจอดนานหรือจอดข้ามคืนแล้วสตาร์ทติดยากหรือสตาร์ทไม่ติดคราวนี้แน่นอนว่าแบตเตอรี่รถคุณเริ่มเสื่อมสภาพไม่สามารถเก็บประจุไฟไว้ได้

 

ไฟหน้ารถ

   สังเกตไฟหน้ารถ เนื่องจากประจุไฟฟ้าในแบตเตอรี่ไม่เพียงพอ ตรงนี้สำหรับคนที่ขับรถกลางคืนบ่อยๆ อาจจะสังเกตได้ง่ายกว่า สำหรับใครที่ไม่ชอบออกจากบ้านค่ำๆ มืดๆ เวลาขับเข้าลานจอดให้ลองเปิดไฟหน้ารถดูน่าจะพอให้สังเกตได้

 

อุปกรณ์ที่ใช้กำลังไฟ

   อุปกรณ์ที่ต้องใช้กำลังไฟมีอาการทำงานอืดกว่าปกติ ตรงนี้ให้สังเกตจากไฟส่องสว่างในห้องโดยสาร ไฟหน้าจอเครื่องเสียงและไฟตามจุดต่างๆ เช่น ไฟเลี้ยว และไฟท้าย ซึ่งเริ่มสว่างน้อยลง บางทีก็อาจติดๆ ดับๆ รวมถึงให้ลองบีบแตรดูถ้าเสียงเบาผิดปกติ นั่นแสดงว่ากำลังไฟจากแบตเตอรี่ของคุณไม่เพียงพอเช่นกัน

 

   หากตรวจเจอ 1 ใน 3 อาการดังกล่าว ควรพารถของคุณไปตรวจสอบหรือเปลี่ยนแบตเตอรี่ก่อนออกเดินทางทุกครั้ง เพื่อความราบรื่นในการเดินทางอย่างไม่มีสะดุดนะครับ และสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย คือ เราต้องรู้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถยนต์ของเรา โดยทั่วไปแล้ว แบตเตอรี่จะมีอายุการใช้งาน 1.5-2 ปี หากไม่จอดรถทิ้งไว้นานๆ เพราะการจอดรถทิ้งไว้นานๆนั้นก็เป็นการทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพได้เร็วขึ้น

Cr. https://unitedhonda.com/blog/3-อาการบ่งบอกว่าคุณอาจจะต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่

6 วิธีเช็คสภาพรถ

6 วิธีเช็คสภาพรถ หลังกลับจากเดินทางไกล

 ช่วงเทศกาลหยุดยาว หลายๆ ท่านมักจะพาครอบครัวไปเที่ยวต่างจังหวัด ใช้เวลาในช่วงหยุดยาวอยู่กับครอบครัว หรือบางท่านไปเที่ยวเพื่อพักผ่อนหลังจากที่ทำงานหนักมาทั้งปี และเมื่อกลับจากเดินทางไกลแล้วเราควรดูแลตรวจเช็คสภาพรถยนต์ด้วยนะครับ เพราะรถยนต์ก็เหมือนกันคน เมื่อทำงานหนักก็ต้องการการดูแล เพื่อป้องกันการสึกหรอ และรักษารถยนต์

สิ่งที่ควรตรวจเช็คสภาพรถยนต์หลังกลับจากเดินทางไกล มีอะไรบ้างมาดูกันครับ

น้ำมันเครื่อง

   เช็คน้ำมันเครื่อง ควรเช็คระดับน้ำมันเครื่องเพื่อให้แน่ใจว่าอยู่ในระดับปกติ หากพบว่าน้ำมันเครื่องพร่องลงไปมากหรือต่ำกว่าระดับ MIN ควรตรวจเช็คว่ามีการรั่วซึมจุดใดหรือไม่ นอกจากนั้นควรเช็คสภาพน้ำมันเครื่องว่าไม่ดำจนเกินไป รวมถึงไม่มีเศษเขม่าเจือปนอยู่ หากพบควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องใหม่นะครับ

น้ำหล่อเย็น

   เช็คน้ำหล่อเย็น ระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์เป็นจุดที่ต้องตรวจเช็คบ่อยๆ วิธีเช็คง่ายๆ เพื่อดูว่าระดับไหนที่ถือว่าปกติให้สังเกตที่หม้อพักน้ำยาหล่อเย็นจะมีสัญลักษณ์บอกระดับน้ำ คือ MAX และ MIN ถ้าระดับน้ำอยู่ต่ำกว่า MIN แสดงว่าน้ำน้อยเกินไป ซึ่งเป็นอันตรายต่อเครื่องยนต์และเป็นเหตุทำให้เครื่องยนต์ฮีต วิธีแก้เพียงเติมน้ำยาหล่อเย็น โดยเติมน้ำยาเข้าไปให้ได้ระดับที่พอดีไม่จนมากเกินขีด MAX เพราะถ้ามากเกินจะทำให้น้ำที่เดือดแล้วล้นออกมาส่งผลให้เป็นอันตรายต่อเครื่องยนต์เช่นกัน

ไส้กรองอากาศ

   เช็คไส้กรองอากาศ การเดินทางไปต่างจังหวัดอาจต้องขับผ่านถนนที่มีฝุ่นมากกว่าปกติ จึงควรเช็คไส้กรองอากาศว่ามีสิ่งสกปรกอุดตันอยู่หรือไม่ หากมีก็ควรเป่าออก หรือเปลี่ยนไส้กรองใหม่ เพื่อให้เครื่องยนต์สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพนะ

 ช่วงล่างและระบบกันสะเทือน

   เช็คช่วงล่างและระบบกันสะเทือน ส่วนใหญ่แล้วถ้าอาการที่ช่วงล่าง และการสั่นสะเทือนมีปัญหาให้ลองสังเกตดูว่าเมื่อคุณขับรถแล้วรถเกิดอาการร่อนเมื่อขับด้วยความเร็ว แสดงว่ามีโช้คมากกว่า 1 ต้น ที่ได้รับความเสียหาย หรือโคลงตัวมีความผิดปกติโดยอาการคือ จะมีการยืด – หดช้าลง เวลาที่เร่งความเร็วหรือเวลาเบรกแล้วหน้าจะทิ่มมากกว่าปกติ อีกหนึ่งอาการคือภายในห้องโดยสารมีความนุ่มผิดปกติ ทำให้ไม่สามารถรับแรงสะเทือนเองได้ มีความกระดอนผิดจังหวะ แสดงว่าโช้คมีการทำงานที่ผิดปกติถือได้ว่ามีความอันตรายอยู่พอสมควร นอกจากนั้นต้องลองตรวจเช็คลูกหมากปีกนก ลูกหมากคันชักตัวนอก ลูกหมากแร๊ค รวมไปถึงลูกปืนล้อ  วิธีเช็คคือเมื่อขับขี่จะรู้สึกได้อย่างชัดเจนว่าหมุนเลี้ยวจะมีระยะมากกว่าปกติ มีอาการเสียงดังเวลารถตกหลุม หรือตอนที่รถเอียงตัว เป็นต้น

ตัวถัง

   เช็คสภาพตัวถัง ควรล้างรถเมื่อมีโอกาส เพราะฝุ่นควันที่ติดมานั้น อาจสร้างผลกระทบต่อชั้นสีในระยะยาวได้ จากนั้นจึงควรเช็ครอบตัวรถว่ามีรอยบุบหรือรอยขีดข่วนใดๆหรือไม่ เพื่อจะได้พิจารณาเคลมประกันหรือทำสีต่อไป

ลมยาง

   เช็คสภาพและลมยาง การเดินทางไกลอาจส่งผลให้ความดันลมยางลดลง จึงควรเช็คลมยางเมื่อมีโอกาส เพื่อป้องกันการสึกหรอของยางและลดโอกาสเกิดอันตรายจากการขับด้วยความเร็วสูง นอกจากนั้นยังควรตรวจสภาพยางว่าไม่มีอะไรเข้าไปทิ่ม อุด ตำ จนเป็นสาเหตุให้เกิดการรั่วซึม ทางที่ดีควรปะยางหรือเปลี่ยนใหม่ให้เรียบร้อย

   การตรวจเช็คสภาพรถยนต์หลังจากเดินทางไกลถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากตัวรถถูกใช้งานมาอย่างหนัก ทั้งเผชิญกับหลุมบ่อ ถนนลูกรัง แม้กระทั่งการบรรทุกน้ำหนักมากกว่าปกติ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุของการสึกหรอในชิ้นส่วนต่างๆของรถ หากเราตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่เบื้องต้น ก็จะช่วยให้แก้ปัญหาได้ทันท่วงทีก่อนจะลุกลามบานปลายในระยะยาวนะครับ

Cr. https://unitedhonda.com/blog/6-วิธีเช็คสภาพรถ-หลังกลับจากเดินทางไกล