Close up of female hands holding a handbrake lever to keep the vehicle stationary

นึกถึงซึ่งเบรกมือ

 เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า รถยนต์เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ในยุคปัจจุบัน เปรียบเทียบได้เหมือนกับว่าเป็นปัจจัยที่ 5 ก็ไม่ผิด การเดินทางส่วนใหญ่ของมนุษย์ไม่ว่าจะประเทศไหนในโลก จะใช้รถยนต์มากกว่าการเดินทางโดยพาหนะประเภทอื่น และที่มากไปกว่านั้นก็คือมนุษย์ก็มีความต้องการที่สะดวกสบายด้วยกันทั้งนั้น 

ดังนั้น การที่จะเสาะหารถยนต์มาเพื่อการใช้งานสักคันหนึ่งนั้น  ถือว่าเป็นเรื่องที่ธรรมดาของมนุษย์
     โอกาสของทุกๆคนที่จะมีรถยนต์ไว้ใช้หรือสิ่งของอย่างอื่นนั้น มันไม่ยาก “หากมีเงิน” ( มักพูดกัน ) แต่สำหรับคนที่เบี้ยน้อยหอยน้อยก็ต้องมีการพิจารณาให้ดีและถี่ถ้วนว่า  เหมาะสมกับตนเองมากน้อยแค่ไหนเป็นต้นว่า ราคาของรถยนต์, การใช้งานที่คุ้มค่า, ภูมิประเทศเป็นอย่างไร  และอื่นๆ

หากมีการตัดสินใจซื้อมาแล้วนั้น  ก็จะต้องเอาใจใส่ในรถยนต์ของตนเองแน่ๆ แต่ถึงกระนั้นอยากจะบอกว่ารถยนต์สมัยใหม่นั้น  มีเทคโนโลยี่ที่สูงมากบวกกับท่านเจ้าของรถยนต์ที่เป็นมือใหม่(ขออนุญาตนะครับ)  อาจจะมีความเข้าใจที่ไม่มากนัก สิ่งที่กระทำได้หากมีรถยนต์อยู่ในความครอบครองแล้ว  ไม่ว่าจะเป็นการล้างรถ, การดูดฝุ่น, การเคลือบเงา  คงจะทำกันได้แน่ๆ  แต่ถ้าเป็นการบำรุงรักษารวมถึงการตรวจเช็คนั้นคงเป็นไปได้ยาก เรียกได้ว่าต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้โดยเฉพาะ   ดังนั้น ในการนี้เพื่อให้นักขับมือใหม่ได้สังเกตเบื้องต้นในรถยนต์ของตนเอง  พอที่จะสรุปเป็นภาพรวมอย่างง่ายๆได้ดังต่อไปนี้

     ขณะยังไม่มีการขับขี่หรือจอดอยู่กับที่และไม่มีการติดเครื่องยนต์
          ให้สังเกตบริเวณใต้ท้องของรถยนต์ว่า  มีอะไรติดอยู่ใต้ท้องรถยนต์หรือไม่, ใต้ท้องรถเหมือนกับตอนที่ยังเป็นรถใหม่อยู่หรือไม่, จากนั้นให้มองไปยังที่พื้นที่จอดรถยนต์อยู่ว่า  มีสิ่งใดมาอยู่ตรงบริเวณนั้นหรือหยดตรงบริเวณนั้นหรือไม่ 

     อันดับต่อไปในขณะทำการติดเครื่องยนต์และเครื่องยนต์ติดแล้ว
          ให้สังเกตไฟโชว์ต่างๆบนมาตรวัดขึ้นมาครบทุกดวงหรือไม่  และจะต้องดับลงเมื่อเครื่องยนต์ติดแล้ว  เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้วสังเกตเสียงดังที่มาจากเครื่องยนต์รวมถึงการเปิดระบบปรับอากาศด้วยว่า  เสียงที่ได้ยินเหมือนกับที่ตอนเป็นรถใหม่หรือไม่

     อันดับต่อไปจังหวะของการเคลื่อนตัวของรถยนต์ออกจากจุดหยุดนิ่ง
          ให้สังเกตการบังคับเลี้ยว, การเบรก, เสียงดังและอื่นๆ ในขณะออกตัว ว่าเป็นเหมือนที่ตอนยังเป็นรถใหม่หรือไม่ ( หากมีการใช้งานในระดับหนึ่งแล้วอาจจะไม่เหมือนเดิมเสมอไป ) ตรงจุดนี้อาจยกเว้น

     อันดับต่อไปในขณะทำการขับขี่
       ให้สังเกตเหมือนกับการออกตัวครับแต่มีอีกสิ่งหนึ่งคือ  ไฟโชว์บนมาตรวัดตลอดจนเกจวัดต่างๆ ว่ามีการแสดงที่ผิดปกติไปจากเดิมหรือไม่  เพราะถ้าไม่เหมือนเดิมแสดงว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นแน่ๆ

     อันดับสุดท้ายหลังจากใช้งานมาจนถึงการดับเครื่องยนต์
         ให้สังเกตตั้งแต่รถยนต์จอดสนิทแล้วทำการดับเครื่องยนต์ ว่าผิดกับตอนที่เป็นรถใหม่หรือไม่อย่างไร  ไม่ว่าจะเป็นในรูปของเสียงและในรูปแบบของการสันสะเทือน


     ตามที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นนั้น  จะเน้นย้ำให้กับนักขับที่มือใหม่  ซึ่งอาจจะยังไม่มีความเคยชินกับตัวรถยนต์มากนัก  จะเห็นได้ว่านอกจากจะมีการสังเกตที่ดีแล้ว  ยังสามารถที่จะอธิบายสิ่งที่ผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตัวรถยนต์ได้ในระดับที่น่าพอใจทีเดียว  การสังเกตดังกล่าวก็ไม่ได้ยากจนเกินไปนัก  แล้วยิ่งรถยนต์สำหรับนักขับมือใหม่นั้น  ยังอยู่ในระยะรับประกันยิ่งจะต้องชี้แจงปัญหาให้ตรงจุด  เพื่อการวิเคราะห์ของศูนย์บริการที่ถูกต้องชัดเจนนั่นเองครับ

Cr. https://phithan-toyota.com/th/article/detail/1006/3

Comments are closed.